การฟื้นฟูผู้ป่วยอัมพฤกษ์ อัมพฤกษ์

   การที่ต้องตกอยู่ในภาวะที่ไม่สามารถช่วยเหลือตนเองได้ ทำให้คนไข้กลุ่มนี้มีความต้องการที่จะรักษาหรือฟื้นฟูด้วยวิธีต่างๆ สู่การเยียวยาให้ร่างกายมีสภาพที่ดีขึ้น สามารถช่วยเหลือตัวเองได้มากขึ้น สำหรับวิธีการฟื้นฟูผู้ป่วยอัมพฤกษ์อัมพาตนั้นยังเป็นเรื่องที่ควรทำความเข้าใจร่วมกัน เพื่อการดูแลคนใกล้ชิดที่ป่วยเป็นโรคดังกล่าวได้อย่างถูกต้องเหมาะสม

 

การฟื้นฟูผู้ป่วย อัมพฤกษ์ อัมพาต

 คือ การฟื้นฟูผู้ป่วยที่เจ็บป่วยเรื้อรังหรือฉับพลัน เพื่อลดอาการความพิการ หรือป้องกันความพิการให้ได้มากที่สุด เพื่อการใช้ชีวิตให้เป็นปกติที่สุด และมีคุณภาพชีวิตที่ดี ผู้ป่วยที่สามารถเข้ารับการฟื้นฟูได้ ได้แก่ ผู้ป่วยระบบประสาท ระบบสมอง กล้ามเนื้อและกระดูกรวมไปถึงหัวใจและปอด

สำหรับผู้ป่วยอัมพฤกษ์อัมพาตจัดเป็นอาการป่วยทางสมอง ซึ่งมีสาเหตุมาจากเส้นเลือดสมองตีบหรือแตก ทำให้อ่อนแรงบางส่วนหรือขยับร่างกายไม่ได้เลยทั้งร่างกาย นอกเหนือจากการขยับร่างกายก็อาจมีในเรื่องของอาการชา พูดจาไม่รู้เรื่อง ฟังไม่เข้าใจ หรือมีปัญหาเรื่องการกลืน รวมถึงการหมดสติ

โรคหลอดเลือดสมอง (Stroke) หรือโรคอัมพฤกษ์ อัมพาต คือภาวะที่สมองขาดเลือดไปเลี้ยง ทำให้สูญเสียการทำงานอย่างเฉียบพลัน
เป็นสาเหตุความพิการและเสียชีวิตมากเป็นอันดับ 1 ของผู้หญิง และอันดับ 3 ของผู้ชายในไทย
พิการ ปีละ 2.5 แสนรายต่อปีและเสียชีวิตจำนวน 5 หมื่นรายต่อปี สามารถเกิดได้กับประชาชนทุกกลุ่มวัย

สถานการณ์โรคหลอดเลือดสมองทั่วโลก ข้อมูลจากกรมควบคุมโรค
โรคหลอดเลือดสมองเป็นสาเหตุการเสียชีวิตอันดับ 2 ของโลก
ผู้ป่วยจำนวน 80 ล้านคน ผู้เสียชีวิตประมาณ 5.5 ล้านคน
พบผู้ป่วยใหม่ถึง 13.7 ล้านคน / ปี
โดย 1 ใน 4 เป็นผู้ป่วยที่มีอายุ 25 ปีขึ้นไป
60 % เสียชีวิตก่อนวัยอันควร
ความเสียงของการเกิดโรคหลอดเลือดสมองในประชากรโลกปี 2562
ทุกๆ 4 คน จะป่วยด้วยโรคหลอดเลือดสมอง 1 คน
ทุก 4 นาที วินิจฉัย โรคหลอดเลือดสมอง 1 คน
ร้อยละ 80 ของประชากรโลกที่มีความเสี่ยงสามารถป้องกันได้
 
ชนิดของโรคหลอดเลือดสมอง
 
  หลอดเลือดสมองตีบหรืออุดตัน (Ischemic Stroke) เป็นสาเหตุส่วนใหญ่ที่ทำให้เกิดโรคหลอดเลือดสมอง พบได้ประมาณ 80% หลอดเลือดสมองอุดตันเกิดได้จากลิ่มเลือดที่เกิดขึ้นในบริเวณอื่นไหลไปตามกระแสเลือดจนไปอุดตันที่หลอดเลือดสมอง หรืออาจเกิดจากมีลิ่มเลือดก่อตัวในหลอดเลือดสมอง และขยายขนาดใหญ่ขึ้นจนอุดตันหลอดเลือดสมอง ส่วนสาเหตุของหลอดเลือดสมองตีบอาจเกิดจากการสะสมของไขมันในหลอดเลือด ทำให้หลอดเลือดตีบแคบ มีความยืดหยุ่นและมีประสิทธิภาพในการลำเลียงเลือดลดลง
 
  หลอดเลือดสมองแตก (Hemorrhagic Stroke) พบได้ประมาณ 20% ของโรคหลอดเลือดสมอง เกิดจากหลอดเลือดมีความเปราะบางร่วมกับภาวะความดันโลหิตสูง ทำให้บริเวณที่เปราะบางนั้นโป่งพองและแตกออก หรืออาจเกิดจากหลอดเลือดเสียความยืดหยุ่นจากการสะสมของไขมันในหลอดเลือด ทำให้หลอดเลือดปริแตกได้ง่าย ซึ่งอันตรายมากเนื่องจากทำให้ปริมาณเลือดที่ไปเลี้ยงสมองลดลงอย่างฉับพลันและทำให้เกิดเลือดออกในสมอง ส่งผลให้ผู้ป่วยเสียชีวิตในเวลาอันรวดเร็วได้
 
สาเหตุทำให้เกิด โรคหลอดเลือดสมอง (Stroke)
 
1. อายุที่มากขึ้น เพราะความเสื่อมของหลอดเลือดสมองมีมากขึ้นตามอายุ
2. โรคความดันโลหิตสูง เป็นปัจจัยเสี่ยงสำคัญที่ทำให้เกิดโรคหลอดเลือดสมอง
3. โรคเบาหวาน เพราะจะทำให้หลอดเลือดสมองแข็งตัว ส่งผลให้หลอดเลือดตีบตัน
4. โรคไขมันในเลือดสูง เพราะระดับไขมันในเลือดที่สูงจะส่งผลให้หลอดเลือดแข็งตัวและเกิดการตีบ
5. สูบบุหรี่เป็นประจำ
6. การดื่มสุรา
7. โรคอ้วน
การรักษาโรคหลอดเลือดสมองนั้น
ต้องใช้การรักษาในโรงพยาบาลเป็นหลัก ได้แก่
- การให้ยาละลายลิ่มเลือด (Thrombolytic therapy)
- การควบคุมความดัน
- การให้ยาต้านเกล็ดเลือด
- การรักษาในหอผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง (Stroke Unit)

การฟื้นฟูร่างกาย 
หลังการรักษาผู้ป่วยจะต้องเข้ารับการฟื้นฟูร่างกาย ด้วยวิธีการฝึกการขยับมือแขน ฝึกการเดิน ที่อยู่ภายใต้การดูแลของนักกายภาพบำบัด
และการฟื้นฟูด้วยเครื่อง TMS เครื่องกระตุ้นแม่เหล็กไฟฟ้า ก็ยังสามารถช่วยได้ด้วย
การฟื้นฟูด้วยนักกายภาพบำบัด จะต้องมีการตรวจประเมินร่างกาย วินิจฉัย อาการก่อนรักษา รักษาอาการที่ตรงจุด แม่นยำ โดยใช้อุปกรณ์ทางการแพทย์ที่ทันสมัย เช่น เลเซอร์ (Lazer) อัลตร้าซาวด์ (Ultrasound) และตรวจวัดคลื่นไฟฟ้ากล้ามเนื้อ (Electromyography) การฝึกกายภาพบำบัดสำหรับผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองด้วยหุ่นยนต์ (Robotic assisted gait training) และธาราบำบัด ทำให้การรักษา และการฟื้นฟูมีความปลอดภัย
TMS ช่วยรักษาภาวะอัมพฤกษ์-อัมพาต ได้อย่างไร ?
การบำบัดด้วยเครื่องกระตุ้นแม่เหล็กไฟฟ้าสมอง (Transcranial Magnetic Stimulation) กลุ่มอัมพฤษ์ อัมพาต ซึ่งเกิดจากหลอดเลือดสมองตีบ (Stroke) สามารถใช้เครื่องกระตุ้นแม่เหล็กมาบำบัดรักษาแล้วเร่งรัดทำให้อาการฟื้นตัวของอาการอัมพฤกษ์ อัมพาต เหล่านี้ดำเนินต่อเนื่องต่อไป แล้วก็มีการฟื้นตัวทุก ๆ ครั้งที่มีการรักษา คงได้ยินเรื่องราวของอัมพฤกษ์อัมพาตว่าหลังจาก 6 เดือน ไปแล้วหรือว่า 1 ปี ไปแล้วอาการที่ฟื้นตัวมามักจะคงที่ แต่การกระตุ้นด้วยแม่เหล็กนี้ทำให้การฟื้นตัวดำเนินต่อไปได้เรื่อย ๆ ถึงแม้ว่าจะไม่แบบกระตุ้นทีเดียวหายก็ตามแต่ความรู้สึกของผู้ป่วยหรือการตรวจจากแพทย์จะรู้ได้เลยว่าอาการอัมพฤกษ์อัมพาตต่างๆ เหล่านั้นมีความคืบหน้ามีผลต่อการรักษาที่ชัดเจน ทุกครั้งไป และจะเห็นได้ชัดเจนถ้าทำ 5-10 ครั้งขึ้นไป

© โรงพยาบาลรามคำแหง , rama mahidol
     
     
สอบถามรายละเอียดข้อมูลเพิ่ม นัดหมายเข้ามาดูสถานที่ ติดต่อ
KIN (คิน) - Rehabilitation & Homecare
     
 
 โทร : 091-803-3071 , 095-884-2233 , 02-020-1171
 LINE สอบถามรายละเอียด @kinrehab (มี @ ข้างหน้า) หรือ Click : http://bit.ly/2M5f3Id
 Youtube Channel : https://cutt.ly/TyTh3bd
 แผนที่ไป KIN : http://bit.ly/2VvPDq6

ข่าวสารบทความ อื่นๆ

KIN Rehab