โรคหลอดเลือดสมอง ที่ควรต้องรู้!!

   โรคหลอดเลือดในสมอง (Stroke) ต้องรู้

   โรคหลอดเลือดสมอง ยังคงเป็นโรคที่มีแนวโน้มของอัตราการพิการ และการเสียชีวิตสูงขึ้นทุกปีจนต้องมีการกำหนดวันอัมพาตโลก (29 ตุลาคมของทุกปี)เพื่อรณรงค์ให้ประชาชนได้ตื่นตัวปกป้องตัวเองและคนที่รักจากพฤติกรรมเสี่ยงที่อาจกลายเป็นภาระของครอบครัวในระยะยาวในอนาคตยังไม่นับเรื่องคุณภาพชีวิตต้องเข้าสู่โหมดวิกฤตไปตลอดกาล

จากสถิติพบว่าในปี 2552 ประชากรไทยทั้งหญิงและชาย เสียชีวิตด้วยโรคหลอดเลือดสมองมากเป็นอันดับ 1 และเป็นสาเหตุสำคัญของความพิการอีกด้วยคิดเป็นผู้ป่วยที่มีภาวะหลอดเลือดสมองตีบตันร้อยละ 70-80 ผู้ป่วยที่เลือดออกในสมองร้อยละ 20–30 โดยมีสาเหตุสำคัญมาจากภาวะความดันโลหิตสูงได้มากที่สุด

ปัจจัยเสี่ยงโรคหลอดเลือดสมองเลี่ยงได้ VS เลี่ยงไม่ได้

สาเหตุของโรคหลอดเลือดสมองตีบว่าโรคหลอดเลือดสมองตีบเกิดจากความเสื่อมของผนังหลอดเลือดหรือมีไขมันมาเกาะบริเวณผนังหลอดเลือดด้านในซึ่งพบได้ทั้งในหลอดเลือดสมองและหลอดเลือดใหญ่ที่ลำคอทำให้ขนาดหรือรูของหลอดเลือดตีบหรือแคบลงส่งผลให้เลือดไปเลี้ยงสมองได้ไม่เพียงพอ แบ่งเป็นปัจจัยเสี่ยงสำคัญได้ 2 ประเภท ดังนี้

ปัจจัยเสี่ยงที่หลีกเลี่ยงไม่ได้

  • อายุ หนึ่งในปัจจัยที่ทำให้เกิดโรคหลอดเลือดสมองตีบเนื่องจากหลอดเลือดเริ่มเสื่อมสภาพลง ยิ่งอายุมากขึ้นอัตราเสี่ยงยิ่งเพิ่มขึ้น
  • เชื้อชาติ ในทางการแพทย์พบว่าผู้ที่มีผิวสีเข้มจะมีอัตราการเกิดโรคหลอดเลือดสมองตีบได้มากกว่าผู้ที่มีผิวสีขาว
  • พันธุกรรมผู้ที่มีประวัติครอบครัวเป็นโรคหลอดเลือดสมองจะมีความเสี่ยงในการเกิดโรคนี้มากกว่าคนทั่วไป

ปัจจัยเสี่ยงที่หลีกเลี่ยงได้

  • ผู้ที่มีความดันโลหิตสูง
  • โรคเบาหวานเป็นปัจจัยเสี่ยงทำให้หลอดเลือดแข็งตัวได้ทั่วร่างกาย
  • ไขมันในเลือด เป็นสาเหตุสำคัญทำให้เกิดภาวะเส้นเลือดอุดตัน
  • การสูบบุหรี่ พบว่าสัมพันธ์กับการเกิดภาวะหลอดเลือดเปราะ
  • การดื่มสุรา พบว่าผู้ที่ดื่มปานกลางจนถึงดื่มจัดจะมีอัตราเสี่ยงเกิดโรคหลอดเลือดสมองสูงกว่าผู้ที่ไม่ดื่ม
  • ผู้ที่ไม่ชอบออกกำลังกาย

นอกจากนี้ยังเกิดได้ง่ายกับผู้ป่วยโรคหัวใจชนิดที่เสี่ยงต่อการเกิดลิ่มเลือดในห้องหัวใจเช่น โรคหัวใจเต้นผิดจังหวะชนิด Atrial Fibrillation, โรคลิ้นหัวใจและโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดซึ่งเป็นปัจจัยกระตุ้นสำคัญทำให้ลิ่มเลือดหลุดจากหัวใจไปอุดตันที่หลอดเลือดสมองส่งผลต่อการไหลเวียนเลือดที่ต้องไปเลี้ยงสมองทำให้เซลล์สมองขาดเลือดและสูญเสียการควบคุม จนอวัยวะต่างๆเริ่มทำงานผิดปกติหรือที่เราเรียกว่าอัมพฤกษ์ อัมพาตนั่นเอง

พฤติกรรมการกินที่ควรปฏิบัติตาม

 1หลีกเลี่ยงอาหารที่เป็นไขมันทรานส์

ไขมันทรานส์เป็นไขมันที่มีการแปรรูปและเป็นอันตราย มักจะมาในรูปแบบขนมต่างๆ เค้กต่างๆ ในบางร้านที่เขายังนำมาใช้ประกอบอยู่ เช่น เนย เนยขาว ครีมเทียมต่างๆ เพราะส่วนผสมจำพวกนี้มีผลต่อร่างกายทั้งสิ้น

 2. เลือกรับประทานอาหารที่มีไขมันต่ำ

อาหารที่มีไขมันต่ำ เช่น เนื้อปลา เนื้ออกไก่ เต้าหู้ นมที่มีไขมันต่ำ เพราะถ้าเราเลือกทานอาหารที่มีไขมันต่ำ เลือกทานอาหารให้ถูก เราก็ไม่ต้องกังวลเรื่องอาหารมาก และที่สำคัญต้องออกกำลังกายควบคู่ไปด้วย เพราะการออกกำลังกายทำให้ร่างกายของเราปรับตัวและทำให้ไขมันในร่างกายเราดีขึ้น และที่สำคัญที่สุดทำให้สุขภาพทางกายและทางใจดีขึ้น ไม่ควรรับประทานอาหารซ้ำๆ อย่างเดียวไปตลอด เราต้องมีการหมุนเวียนอาหารเพื่อให้เกิดประโยช์สูงสุดต่อร่างกาย เพราะถ้าเราทานอาหารซ้ำๆ ร่างกายก็จะได้แต่อาหารซ้ำๆ ไม่ครบหมู่ การที่เราหมุนเวียนการทานอาหารจะทำให้ร่างกายของเราได้สารอาหารที่หลากหลาย

 3. การเลือกใช้น้ำมันในการปรุงอาหาร

ควรใช้น้ำมันรำข้าว น้ำมันมะกอก น้ำมันถั่วเหลือง แต่ก็ต้องใช้น้ำมันแต่ละชนิดให้เหมาะสมกับอาหาร

 4. วิธีการปรุงอาหาร

เลือกวิธีการปรุงอาหารให้ใช้น้ำมันน้อยที่สุดหรือไม่ใช้น้ำมันเลย การปรุงด้วยวิธีต่างๆ เช่นต้ม ย่าง  หรืออบแทนการทอดและผัด อาหารทุกชนิดถ้าเราใช้น้ำมันมากๆ อาหารจะมีการอมน้ำมัน เมือเราทานเข้าไปในร่างกายจะทำให้น้ำมันมีการสะสมสิ่งที่ตามมาคือไขมันในเลือดสูงและจะเริ่มมีปัญหา ส่วนปัญหาที่น่ากลัวมากที่สุดคือ เส้นเลือดในสมอง

 5. รับประทานอาหารที่มีกากใยสูง

อาหารที่มีกากใยสูง เช่น ผัก ผลไม้ที่ไม่มีรสหวาน ข้าวซ้อมมือ เนื่องจากใยอาหารเหล่านี้จะช่วยในการดูดซึมไขมันได้ ผลมืที่มีรสหวานมากๆ ควรหลีกเลี่ยงและผลไม้ที่สามารถทานได้ เช่น แอปเปิ้ล ฝรั่ง

 6. การเลือกรับประทานข้าวที่ไม่มีการขัดสี เช่น ข้าวกล้อง ข้าวซ้อมมือ
 7. สำหรับผู้ป่วยโรคเบาหวาน หรือมีน้ำตาลในเลือดสูง

ต้องจำกัดอาหารจำพวกแป้งและน้ำตาล ไม่อย่างนั้นจะทำให้มีภาวะน้ำตาลในเลือดสูงมากขึ้น เมื่อน้ำตาลในเลือดสูงก็จะมีผลต่อร่างกายทำให้เกิดภาวะน้ำตาลในเลือดสูง

 8. หลีกเลี่ยงเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ และเครื่องดื่มที่มีน้ำตาลเป็นส่วนประกอบ
 9. บริโภคน้ำตาลไม่เกิน 6 ช้อนชา/วัน

สำหรับคนที่ชอบทานของหวาน ต้องเปลี่ยนพฤติกรรมการกินตัวเอง การที่เรารับประทานน้ำตาลเกิน 6 ช้อนชา/วัน จะทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูงและไขมันพอกตับก็จะเกิดขึ้นได้ง่าย

 10. หลีกเลี่ยงของหวานต่างๆ และผลไม้ที่มีรสหวานจัด
 
 
 
 
สนใจใช้บริการ สอบถาม ศูนย์ดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง KIN
ผู้เชี่ยวชาญเรื่องการดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง
ทำให้คนที่คุณรักกลับมาหายได้ไวขึ้นใช้ชีวิตปกติได้ไวขึ้น
 
สอบถามรายละเอียดข้อมูลเพิ่ม นัดหมายเข้ามาดูสถานที่ ติดต่อ
KIN (คิน) - Rehabilitation & Homecare
 
 โทร 095-884-2233 , 091-803-3071 , 02-020-1171
 แอด LINE@ สอบถามรายละเอียด @kin.rehab มี @ ข้างหน้า หรือ Click : http://bit.ly/2M5f3Id
 Youtube Channel : https://cutt.ly/TyTh3bd
 แผนที่ไป KIN : http://bit.ly/2VvPDq6

ข่าวสารบทความ อื่นๆ

KIN Rehab