Live "การออกกำลังกายในผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง"
 "การออกกำลังกาย ในผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง"
 
 โดยนักกายภาพบำบัด และนักกิจกรรมบำบัด
กภ.ภัคจิรา รอดพิทักษ์ และ กภ.ธุวานนท์ ชาญกิจจา
 
โดยมีหัวข้อเรื่อง
- การออกกำลังกายแบบทำเอง (Active exercise)
- ข้อควรระวัง
 
 ผิง : วันนี้เราจะมาพูดเรื่องการออกกำลังกายในผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองนะคะ จะเป็นยังไง เดี๋ยวไปติดตามกันดูค่ะ
 
อ้น : ในส่วนของการออกกำลังกายในผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองนะครับ เมื่อสองสัปดาห์ที่แล้วเนี่ย สัปดาห์ที่แล้วเป็นฝึกกลืนใช่ไหม ที่มีการliveกัน 2สัปดาห์ที่แล้วเป็นการออกกำลังกายแบบทำให้ครับ เป็นการขยับข้อต่อเพื่อไม่ให้ข้อต่อยึดติดเพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อนในภาวะอ่อนแรงของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองนะครับครั้งนี้เนี่ย พอผู้ป่วยเริ่มจากมีแรงที่สามารถออกแรงได้เองแล้วเนี่ย
 
ผิง : เราก็ต้องมีการแนะนำเป็นการออกกำลังกายด้วยตัวเองใช่ไหม
 
อ้น : ใช่ครับ ให้ออกกำลังกายด้วยตนเอง ซึ่งจะได้ผลดีกว่าการออกกำลังกายแบบทำให้
 
ผิง : ใช่แล้ว
 
อ้น : การทำให้เหมือนการป้องกันมากกว่าครับ แต่ว่าการออกกำลังกายโดยการทำเองดีกว่ายังไงเดี๋ยวเราไปดูกันนะครับ เริ่มต้นกันเลยครับ
การออกกำลังกายในผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองนะครับแบบทำเองหรือเรียกว่า Active Exercise นะครับการที่มีคนทำให้เหมือน Passive Income อย่างนี้นะครับ ก็เกือบเป็นรายรับที่ไม่ต้องทำอะไรเลย
อันนี้ก็ก็ Active Exercise เหมือน Active Income ให้เหมือนเราทำเองเราก็จะได้เองนะครับ ที่ของการออกกำลังกายแบบทำเองนะครับคือว่าเกิดการหดตัวของกล้ามเนื้อครับเพราะว่าการออกกำลังกายแบบที่มีคนทำให้เนี่ยไม่จำเป็นนะครับที่จะต้องมีการหดตัวของกล้ามเนื้อถ้าเริ่มมีการหดตัวของกล้ามเนื้อเมื่อไหร่เราจะเรียกว่าเป็นการออกกำลังกายแบบทำเองครับ หรือ Active Exercise นั้นเองนะครับ
ที่นี้ Active Exercise หรือการออกกำลังกายแบบทำเอง *ข้อดีของมันคืออะไร ข้อดีของมันคือป้องกันการติดขัดของข้อต่อเหมือนกับมีคนทำให้เหมือนกับ passive Exercise นะครับก็คือป้องกันการติดขัดของข้อต่อลดการบวมได้เหมือนกัน
 
ผิง :ใช่ ป้องกันการฝ่อลีบของกล้ามเนื้อ
 
อ้น : ใช่ครับ ป้องกันการฝ่อลีบ และ สิ่งที่สำคัญกว่าคือเพิ่มกำลังเพิ่มความทนทานเพิ่มความสามารถในการเคลื่อนไหวของกล้ามเนื้อและข้อต่อได้มากกว่านั้นเองนะครับ
ที่นี่การออกกำลังกายแบบทำเองนะครับก็เดี๋ยวเราจะมีท่าเบื้องต้นนะครับ
เดี๋ยวเราจะมีท่าทางเบื้องต้น เดี๋ยวเราจะมาทำให้ดูเลย ว่าการออกกำลังกายแบบทำเองหรือ Active Exercise มีลักษณะแบบไหนบ้างออกกำลังกายแบบไหนบ้างการออกกำลังกายแบบทำเองนะครับเพิ่มกำลังเพิ่มความทนทานเพื่ออะไร เพื่อให้สามารถกลับไปใช้ชีวิตประจำวันได้นะครับเพราะว่าการเคลื่อนไหวในแต่ละส่วนประกอบกันแล้วจะเป็นการเคลื่อนไหวในชีวิตประจำวันได้เราก็จะมีนอกจากเราจะมีการให้ท่าตัวอย่างในการออกกำลังกายไปแล้วเนี่ย เราจะมีการเคลื่อนไหวบนเตียงเล็กน้อยนะครับเบื้องต้นสำหรับวันนี้ด้วยเพื่อกลับไปใช้ชีวิตประจำวันได้ในผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองนะครับ
ที่นี้ก่อนจะเริ่มกันข้อควรระวังมีอะไรบ้างครับ ค่าสัญญาณชีพนะครับ พวกความดัน
 
 
 ผิง : อัตราการเต้นของหัวใจ
 
 อ้น : ออกซิเจรในเลือด อุณหภูมิ และโรคประจำตัวที่เกี่ยวข้องนะครับ ในผู้ป่วย อาจจะไม่ได้เป็นโรคหลอดเลือดสมองอย่างเดียวอาจจะมีเกี่ยวกับเรื่องหัวใจและหลอดเลือดหลอดเลือดเรื่องปอดให้ดูข้อมูลจากแพทย์เป็นสำคัญนะครับก็คือไม่ให้เหนื่อยเกินไปบางคนอาจจะห้ามขยับแขนเยอะเกินไปในการผ่าหัวใจห้ามขยับแขนเกินเท่านี้เราเอาเสน่ห์นะครับตามที่แพทย์สั่งเป็นสำคัญตามโลกตามข้อจำกัดของตนเองนะครับเดี๋ยวเราไปเริ่มกันเลยครับ
 
สนใจสอบถามข้อมูลและติดตาม KIN
KIN (คิน) - Rehabilitation & Homecare
 
 ปรึกษา​แพทย์​ โทร​ 065-594-2989 โทรสอบถาม 091-803-3071 / 02-020-1171 
 แอด LINE@ สอบถามรายละเอียด @kin.rehab มี @ ข้างหน้า หรือ Click : http://bit.ly/2M5f3Id
 Youtube Channel : https://cutt.ly/TyTh3bd
 แผนที่ไป KIN : http://bit.ly/2VvPDq6
 
 
#live #Facebooklive #ออกกำลังกาย #ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง #Kinrehab

ข่าวสารบทความ อื่นๆ

KIN Rehab