อาหารที่เหมาะสมกับผู้สูงอายุ
 อาหารที่เหมาะสมกับผู้สูงอายุ ศูนย์ดูแลผู้สูงอายุ
   เมื่ออายุสูงขึ้นการรับกลิ่นและรสจะเปลี่ยนไป จนเกิดอาการเบื่ออาหาร กินน้อย หรือบางคนเลือกกิน ทำให้กินไม่หลากหลาย พอนานวันเข้า สารอาหารที่ได้รับจะไม่ครบถ้วน ส่งผลให้ขาดสารอาหารบางอย่าง ไม่ร่าเริง อ่อนเพลีย เหนื่อยง่าย ในระยะยาวจะสะสมจนทำให้ สมองทำงานไม่เต็มที่ ผิวพรรณไม่ดี แผลหายช้าลง เคลื่อนไหวลำบากไม่เหมือนที่เคย และคุณภาพชีวิตโดยรวมย่ำแย่

   1. สารอาหารที่ครบถ้วนและสมดุล สำคัญต่อการดูแลภาวะขาดสารอาหาร
หลายคนเข้าใจผิด เสริมแต่วิตามินเป็นเม็ดๆ หรืออาหารเสริมทั่วไป ที่มักเน้น “สารอาหารรอง” ทั้งที่ในความเป็นจริง สิ่งที่สำคัญที่มักละเลยคือ “สารอาหารหลัก” เช่น โปรตีน ไขมันชนิดดี คาร์โบไฮเดรต เพื่อให้ได้พลังงานที่เพียงพอ เราจึงแนะนำให้รับประทานอาหารครบถ้วน 5 หมู่ ที่ให้โปรตีน ไขมัน คาร์โบไฮเดรต วิตามิน และ เกลือแร่ในปริมาณที่พอเหมาะและครบถ้วนเพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย

   2. เวย์โปรตีน เหมาะกับผู้สูงอายุ
หลายคนเข้าใจผิดว่า เวย์โปรตีน คือโปรตีนที่เหมาะกับคนหนุ่มสาวที่เล่นกล้ามเท่านั้น จริงๆแล้วผู้สูงอายุนี่แหละที่ต้องการอย่างมาก เพราะเวย์โปรตีน เป็นโปรตีนที่สร้างกล้ามเนื้อได้ดี ดังตารางด้านล่างที่งานวิจัยพบว่า ร่างกายคนเราสามารถดูดซึม เวย์โปรตีน ไปสร้างกล้ามเนื้อได้ดีกว่า ไข่ นม หรือเนื้อสัตว์ ดังนั้นยิ่งผู้สูงอายุที่ทานข้าวได้น้อย ก็ยิ่งควรเลือกกินเวย์โปรตีน เพราะไม่เช่นนั้นจะทำให้ได้รับโปรตีนน้อย กล้ามเนื้อจะยิ่งลีบลงเร็ว ส่งผลเสียต่อการเคลื่อนไหว

  3. การดูแลด้วย โพรไบโอติกส์ (จุลินทรีย์สุขภาพ) และ ใยอาหาร
โพรไบโอติกส์ คือจุลินทรีย์สุขภาพที่ดี ที่จะช่วยยับยั้งการเจริญเติบโตของจุลินทรีย์ที่ไม่ดีในลำไส้ของคนเรา สามารถช่วยให้สุขภาพของลำไส้ดีขึ้นและปรับสมดุลการขับถ่าย 4 โดยเฉพาะอย่างยิ่งกลุ่มผู้สูงอายุที่มักจะมีปัญหาระบบขับถ่าย นอกจากนี้ การได้รับอาหารเสริมที่มีเส้นใยอาหารยังอาจช่วยลดอาการท้องผูก ใยอาหารบางชนิดยังสามารถดูดซับของเสียแล้วถ่ายออกมาได้อีกด้วย เช่นดูดซับไขมันหรือน้ำตาลส่วนเกิน ไม่ให้ดูดซึมเข้าร่างกาย แล้วขับออกมา ผู้สูงอายุจึงควรได้รับใยอาหารในปริมาณที่เหมาะสม
 
  4. วิตามินอี ช่วยเพิ่มภูมิคุ้มกัน
ผลงานวิจัยทางการแพทย์บ่งชี้ว่า การได้รับวิตามิน อี ที่พอเหมาะในปริมาณที่สูง สามารถเพิ่มภูมิคุ้มกันได้หากทานติดต่อกันเป็นเวลา 4 เดือน ซึ่งสำคัญในผู้สูงอายุเนื่องจากเป็นวัยที่มีการติดเชื้อง่าย การเพิ่มภูมิคุ้มกันด้วยวิตามินอี จึงเป็นเกราะป้องกันที่ดี ที่จะช่วยให้ผู้สูงอายุมีความสุข
การดูแลด้วยอาหารสูตรครบถ้วน 5 หมู่ที่เหมาะสม
ผู้สูงอายุแต่ละท่าน จะมีภาวะที่ต้องการสูตรอาหารที่ต่างกัน เช่น ผู้สูงอายุทั่วไป, ผู้สูงอายุที่มีปัญหาการย่อยการดูดซึม, ผู้ที่มีปัญหาการขับถ่ายต้องการใยอาหารเพิ่มเป็นพิเศษ, ผู้ที่นอนติดเตียง, ผู้ที่ต้องให้อาหารทางสายยาง หรือผู้สูงอายุที่ต้องควบคุมระดับน้ำตาล ผู้สูงอายุแต่ละกลุ่มควรได้รับประทานอาหารสูตรเฉพาะ แต่ยังคงมีสารอาหารที่จำเป็นต่อการสร้างเสริมสุขภาพครบ 5 หมู่อย่างครบถ้วน

   หมู่ที่ 1 เนื้อสัตว์ ไข่ นม ถั่วเมล็ดแห้งต่าง ๆ ให้สารอาหารประเภทโปรตีน ที่มีหน้าที่เสริมสร้างและซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอของร่างกาย เนื้อสัตว์ที่ผู้สูงอายุควรรับประทานคือ เนื้อสัตว์ที่ไม่มีหนังหรือไขมันมากเกินไป ควรรับประทานประมาณ 2-3ช้อนโต๊ะต่อมื้อ
- ปลา เหมาะมากสำหรับผู้สูงอายุ แต่ควรแกะก้างออกให้หมด
- ไข่ เป็นอาหารที่เหมาะสำหรับผู้สูงอายุเพราะมีคุณค่าทางอาหารสูงมาก ไข่แดง มีธาตุเหล็กในปริมาณสูง ปกติสามารถรับประทานได้สัปดาห์ละ 3-4 ฟอง แต่ถ้าผู้สูงอายุที่มีปัญหาไขมันในเลือดสูงควรลดจำนวนลงหรือบริโภคเฉพาะไข่ขาวเท่านั้น
- นม เป็นอาหารที่มีแคลเซียมและโปรตีนสูง ผู้สูงอายุควรดื่มวันละ 1 แก้ว สำหรับผู้สูงอายุที่มีปัญหาไขมันในเลือดสูงหรือน้ำหนักตัวมากอาจดื่มนมพร่องมันเนยหรือนมถั่วเหลืองแทนได้
- ถั่วเมล็ดแห้ง เป็นอาหารที่มีโปรตีนสูงและราคาถูก ใช้แทนอาหารพวกเนื้อสัตว์ได้

   หมู่ที่ 2 ข้าว แป้ง น้ำตาล เผือก มัน อาหารหมู่นี้ให้สารอาหารคาร์โบไฮเดรตมีหน้าที่ให้พลังงานและความอบอุ่นแก่ร่างกายผู้สูงอายุต้องการอาหารหมู่นี้ลดลงกว่าวัยทำงาน จึงควรรับประทานอาหารกลุ่มนี้แต่พออิ่ม คือ ข้าวมื้อละ 2 ทัพพี ควรเลือกเป็นข้าวไม่ขัดสี หลีกเลี่ยงการกินอาหารรสหวานจัดและของหวาน

   หมู่ที่ 3 ผักต่าง ๆ ผักให้สารอาหารพวกวิตามินและแร่ธาตุ ผู้สูงอายุควรเลือกกิน ผักหลาย ๆ ชนิดสลับกัน ควรปรุงโดยวิธีต้มสุกหรือนึ่งเพราะจะทำให้ย่อยง่ายและช่วยให้ขับถ่ายเป็นปกติ แต่ละวันผู้สูงอายุควรรับประทานผักให้ได้มื้อละ 2 ทัพพี

   หมู่ที่ 4 ผลไม้ต่างๆ เป็นอาหารที่มีคุณค่าต่อร่างกายคล้ายอาหารหมู่ที่ 3 มีวิตามิน และแร่ธาตุต่าง ๆ มากมาย และยังมีรสหวานหอม มีปริมาณของน้ำอยู่มาก ทำให้ ร่างกายสดชื่นเมื่อได้กินผลไม้ ผู้สูงอายุสามารถกินผลไม้ได้ทุกชนิดและควรกินผลไม้ ทุกวันเพื่อจะได้รับวิตามินซีและเส้นใยอาหาร ควรเลือกผลไม้ที่มีเนื้อนุ่ม เคี้ยวง่าย เช่น มะละกอ กล้วยสุก ส้ม ควรรับประทานอย่างน้อยวันละ 1-2 ครั้ง ครั้งละ 6-8 ชิ้น สำหรับผู้สูงอายุที่อ้วนหรือเป็นเบาหวานให้หลีกเลี่ยงผลไม้หวานจัด เช่น ทุเรียน ลำไย ขนุน

   หมู่ที่ 5 ไขมันจากสัตว์และพืช อาหารหมู่นี้นอกจากจะให้พลังงานและความอบอุ่นแก่ร่างกายแล้ว ยังช่วยดูดซึมวิตามินที่ละลายในน้ำ เช่น วิตามินเอ ดี และเค ผู้สูงอายุต้องการไขมันในปริมาณน้อย แต่ก็ขาดไม่ได้ และถ้าบริโภคไขมันมากเกินไป จะทำให้อ้วน ไขมันอุดตันในเส้นเลือด นอกจากนั้นยังทำให้เกิดอาการท้องอืดท้อง เฟ้อหลังอาหารได้ ควรใช้น้ำมันพืชที่มีกรดไลโนเลอิกปรุงอาหาร เช่น น้ำมันงา น้ำมันมะกอก ควรหลีกเลี่ยงการใช้ไขมันจากสัตว์
 
สนใจสอบถามข้อมูล
KIN (คิน) - Rehabilitation & Homecare
โทร. 0802400426 / 091 803-3071 / 0-2020-1171
สอบถามบริการของ KIN  แอด LINE@ สอบถามรายละเอียด @kin.rehab มี @ ข้างหน้า หรือ Click : http://bit.ly/2M5f3Id
แผนที่ไป KIN (คิน) http://bit.ly/2VvPDq6
ดูรายละเอียดเพิ่มเติม https://www.kinrehab.com/
FaceBook(Inbox) : https://www.facebook.com/KIN.Rehabilitation

ข่าวสารบทความ อื่นๆ

KIN Rehab