ฝังเข็มรักษาอะไรได้บ้าง นอกจากอาการปวดหลัง

ฝังเข็มรักษาอะไรได้บ้าง?  นอกจากอาการปวดหลัง

การรักษาด้วยการฝังเข็มสามารถช่วยในเรื่องของ การบรรเทา หรือยับยั้งความเจ็บปวด การหดเกร็งของกล้ามเนื้อ ลดการอักเสบ กระตุ้นการไหลเวียนของเลือดให้ไม่ติดขัด ปรับสมดุลการทำงานของอวัยวะต่างๆ ในร่างกาย และปัจจุบันมีการนำเครื่องกระตุ้นไฟฟ้ามาเพิ่มประสิทธิภาพ ในการฝังเข็มเพื่อให้ได้ผลการรักษาที่ดีมากขึ้น

 

การฝังเข็มแบ่งออกเป็น 2 ประเภท (KIN Rehabilitation & Homecare มีการรักษาทั้ง 2 แบบ) คือ

  1. การฝังเข็มแผนจีน (Chinese Acupuncture)

   การใช้เข็มฝังลงตาม “จุดฝังเข็ม” ซึ่งเรียงอยู่บนแนวเส้นลมปราณ เพื่อปรับสมดุลร่างกายชี่ให้สมดุลระหว่างหยิน หยาง และรักษาโรค ความผิดปกติ ที่อวัยวะต่างๆ ช่วยการบรรเทา หรือยับยั้งความเจ็บปวด การหดเกร็งของกล้ามเนื้อ ลดการอักเสบ กระตุ้นการไหลเวียนของเลือดให้ไม่ติดขัด ปรับสมดุลการทำงานของอวัยวะต่างๆ ในร่างกาย

  2. การฝังเข็มแผนตะวันตก (Dry needling)

   การฝังเข็มไปยังจุดที่กล้ามเนื้อมีการเกร็งตัวเป็นก้อน ซึ่งเป็นตำแหน่งที่ทำให้เกิดอาการปวดโดยตรง หรือที่เราเรียกว่า Trigger point เปลี่ยนแปลงตำแหน่งกล้ามเนื้อที่ฝังเข็ม ทำให้อาการปวดลดลงได้

 

อาการปวดที่เหมาะกับการฝังเข็มก็คือ

 1. อาการ Office syndrome

 2. อาการ Myofascial pain syndrome

 3. อาการปวดหลัง

 4. อาการปวดเรื้อรัง

 5. เจ็บปวดจากการออกกำลังกายมีก้อนกล้ามเนื้อขึ้นมาขนาดใหญ่

*หากเกิดอาการเหล่านี้ควรรีบพบแพทย์ เพื่อประเมินอาการและรักษาต่อไป

การฝังเข็มช่วยอะไรได้บ้าง?

  • ช่วยบรรเทา หรือยับยั้งความเจ็บปวดได้
  • ช่วยในการหดเกร็งของกล้ามเนื้อ
  • ลดการอักเสบ
  • กระตุ้นการไหลเวียนโลหิตให้ไม่ติดขัด
  • ปรับสมดุลการทำงานของอวัยวะต่างๆ ในร่างกาย
  • ปรับการทำงานของระบบภูมิคุ้มกัน
  • ปรับการหลั่งฮอร์โมนต่างๆ ค่ะ

กลุ่มโรคที่การฝังเข็มมีประสิทธิภาพในการรักษา

  • กลุ่มโรคระบบประสาท เช่น อาการชาปลายมือปลายเท้า หมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท
  • กลุ่มอาการปวดและโรคระบบกล้ามเนื้อ เช่น ปวดหลัง ปวดต้นคอ ออฟฟิศซินโดรม
  • กลุ่มโรคระบบทางเดินหายใจ เช่น หวัดเรื้อรัง หอบหืด ภูมิแพ้
  • กลุ่มโรคระบบทางเดินอาหารและลำไส้ เช่น โรคกระเพาะอาหาร กรดไหลย้อน
  • กลุ่มโรคระบบต่อมไร้ท่อ เช่น ความดันโลหิตสูง เบาหวาน
  • กลุ่มโรคเกี่ยวกับฮอร์โมนต่างๆ เช่น ประจำเดือนมาไม่ปกติ ปวดประจำเดือน วัยทอง
  • แก้ไขภาวะทางสุขภาพ เช่น วิตกกังวล เครียด
  • ช่วยเรื่องความงาม เช่น กระชับผิว
  • ปรับสมดุลภูมิต้านทานในร่างกาย

นอกจากฝังเข็มรักษาอาการต่าง ๆ ที่กล่าวมาเบื้องต้นแล้ว การฝังเข็มสามารถยังรักษาผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองได้อีกด้วย

   การฝังเข็มรักษา โรคหลอดเลือดสมอง เส้นเลือดสมองถูกควบคุมโดย sympathetic nervous system การฝังเข็มสามารถกระตุ้น sympathetic nerve(เส้นประสาทควบคุมเส้นเลือด ให้มีการหดตัวหรือขยายตัว)ได้ เมื่อsympathetic nerveถูกกระตุ้นจะทำให้sympathetic toneลดลง การหลั่งของnorepinephrineลดลง ทำให้เส้นเลือด ขยาย การไหลเวียนเลือดจะมากขึ้น จึงทำให้เลือดจากนอกกระโหลกศีรษะไปเลี้ยงสมองได้มากขึ้น

คนปกติหลังจากเป็นโรคหลอดเลือดสมองภายใน1ปี สามารถกลับมาเป็นซ้ำได้ถึง10% การฝังเข็มมี ส่วนช่วยป้องกันการเกิดโรคหลอดเลือดสมองซ้ำได้

การฝังเข็มสามารถเพิ่ม BDNF (Brain-derived neurotropic factor) :ช่วยให้สมองฟื้นตัวได้ -BDNFคือโปรตีนที่เป็นอาหารของเซลล์ประสาทสมอง มีฤิทธิ์ในการกระตุ้นเซลล์ประสาทสมองให้เกิด การแตกกิ่งก้านสาขา มีการเชื่อมต่อระหว่างเซลล์ประสาทมากมาย ซึ่งเป็นสิ่งจำเป็นในกระบวนการ เรียนรู้และความจำ

การฝังเข็มสำหรับผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง สามารถเริ่มฝังได้ตั้งแต่เริ่มมีอาการ-6เดือน(72ชั่วโมง แรก-30วันแรกจะให้ผลการรักษาที่ดี) แต่ผู้ป่วยต้องได้รับการวินิจฉัยก่อนว่าเป็นโรคหลอดเลือดสมอง ชนิดใด ในผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองแบบแตก ต้องรอให้อาการStableก่อนอย่างน้อย2สัปดาห์ถึงจะ สามารถเริ่มทำการรักษาด้วยการฝังเข็มได้) สำหรับผู้ป่วยที่เป็นโรคหลอดเลือดสมองเกินกว่า6เดือน

การฝังเข็มสามารถช่วยป้องกันการเกิดโรค หลอดเลือดสมองซ้ำได้(ต้องเข้ารับการฝังเข็มอย่างต่อเนื่องอย่างน้อยที่สุดเดือนละ2ครั้ง) สามารถลด อาการหดเกร็งของกล้ามเนื้อ การกลืนลำบาก และการเดินเซได้

โดยปกติผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองควรได้รับการฝังเข็มอย่างน้อย2-3ครั้ง/สัปดาห์ น้อยที่สุด คือ1-2ครั้ง/สัปดาห์ *ผลการรักษาขึ้นอยู่กับโรค ระยะเวลาการเกิดโรค และการตอบสนองต่อเข็มของร่างกายคนไข

 

(อ้างอิงจาก แพทย์จีนนฤมล อึ๊งภาดร เข้าอบรมการรักษาโรคหลอดเลือดสมองด้วยศาสตร์การแพทย์แผนจีน 8-9 ก.พ.65 สถาบันการแพทย์ไทย-จีน กรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก โดยนายแพทย์กิตติศักดิ์ เก่งสกุล โรงพยาบาลวิชัยยุทธ(แพทย์อยุรกรรมระบบประสาท และหัวหน้าแผนกฝังเข็ม))

 

กลุ่มผู้ป่วยที่ห้ามรักษาด้วยการฝังเข็ม

  • หญิงตั้งครรภ์
  • ผู้ป่วยที่ใส่เครื่องกระตุ้นหัวใจ
  • ผู้ที่มีภาวะเลือดออกผิดปกติ
  • ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดที่มีความผิดปกติเรื่องการแข็งตัวของเลือด

 

การฝังเข็มในศูนย์ KIN ช่วยรักษาโรคอะไรได้บ้าง?

  • กลุ่มโรคระบบประสาท เช่น อาการชาปลายมือปลายเท้า หมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท
  • กลุ่มอาการปวดและโรคระบบกล้ามเนื้อ เช่น ปวดหลัง ออฟฟิศซินโดรม
  • กลุ่มโรคเกี่ยวกับฮอร์โมนต่างๆ เช่น ประจำเดือนมาไม่ปกติ ปวดประจำเดือน วัยทอง
  • แก้ไขภาวะทางสุขภาพ เช่น วิตกกังวล เครียด
  • ช่วยเรื่องความงาม เช่น กระชับผิว
  • ปรับสมดุลภูมิต้านทานในร่างกาย
     
สอบถามรายละเอียดข้อมูลเพิ่ม นัดหมายเข้ามาดูสถานที่ ติดต่อ
KIN (คิน) - Rehabilitation & Homecare
     
 
 โทร : 091-803-3071 , 095-884-2233 , 02-020-1171
 LINE สอบถามรายละเอียด @kinrehab (มี @ ข้างหน้า) หรือ Click : http://bit.ly/2M5f3Id
 Youtube Channel : https://cutt.ly/TyTh3bd
 แผนที่ไป KIN : http://bit.ly/2VvPDq6

ข่าวสารบทความ อื่นๆ

KIN Rehab