โรคที่ไหลมากับน้ำ

ฝนตก น้ำป่าไหลหลาก น้ำทะเลหนุนทำให้น้ำท่วมบ้านเรือน นอนจากมีต้นไม้ ขยะ ที่ลอยมากับน้ำแล้วก็มีโรคไหลมาด้วยเช่นกัน

    โรคที่มากับน้ำ

  1. โรคผิวหนัง อาการที่พบได้แก่
  • ผื่นแดง
  • แห้งเป็นขุย
  • คันยุบยิบ
  • เป็น ๆ หาย ๆ
  • หากเป็นเรื้อรังผิวหนังจะหนาและมีรอยคล้ำ
  • คันมากขึ้นเมื่อเหงื่อออก
  • ยิ่งเกา ยิ่งคัน

   การป้องกัน

  • ทำความสะอาดร่างกายและล้างมืออยู่เสมอ
  • ใช้สบู่อ่อน ๆ ไม่มีน้ำหอม ไม่มีสารกันเสีย และอ่อนโยนต่อผิว
  • ทาโลชั่นทุกครั้งหลังอาบน้ำเพื่อให้ความชุ่มชื้นแก่ผิว
  • หลีกเลี่ยงการใส่เสื้อผ้าที่รัดมาก เนื้อหยาบหนา หรือผ้าขนสัตว์ ซึ่งทำให้เกิดการระคายเคืองต่อผิว
  • หลีกเลี่ยงสถานที่ที่มีฝุ่นละออง แมลง และยุงชุกชุม
  • รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ พักผ่อนให้เพียงพอ และออกกำลังกาย เพื่อเสริมสร้างภูมิคุ้มกันให้ร่างกาย

 

  1. โรคหัด อาการที่พบได้แก่
  • อาการคล้ายหวัด เช่น คัดจมูก จาม และไอ
  • ปวดตา ตาแดง น้ำตาไหล อาจไหวต่อแสงเพิ่มขึ้น
  • มีไข้สูงถึง 40 องศาเซลเซียส
  • ปวดกล้ามเนื้อ
  • เบื่ออาหาร
  • เหน็ดเหนื่อย ระคายเคือง และหมดเรี่ยวแรง
  • ต่อมน้ำเหลืองโต
  • เกิดจุดสีเทาขาวภายในกระพุ้งแก้ม

   การป้องกัน

  • อยู่ให้ห่างจากผู้ป่วยโรคหัด เพื่อป้องการการติดต่อ
  • ล้างมือให้สะอาดก่อนทานอาหาร หรือหยิบจับอาหารเข้าปาก
  • ออกกำลังกายให้ร่างกายมีภูมิคุ้มกันอยู่เสมอ
  • พักผ่อนให้เพียงพอ
  • ดื่มน้ำให้เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย
  • ให้เด็กเล็กฉีดวัคซีนป้องกันโรคหวัด เข็มแรกตอนอายุ 9 เดือน เข็มที่ 2 ตอนอายุ 2 ขวบครึ่ง หากฉีดวัคซีน Measles-Mumps-Rubella Vaccine (MMR) เด็กสามารถรับวัคซีนได้ครั้งแรกเมื่ออายุครบ 9-12 เดือน และรับวัคซีนครั้งต่อไปเมื่ออายุ 4-6 ปี
  • เด็กโต หรือผู้ใหญ่ที่ไม่มีภูมิคุ้มกันโรคหัด สามารถเข้ารับการฉีดวัคซีนได้ 2 ครั้งเช่นกัน แต่ละครั้งห่างกันอย่างน้อย 28 วัน
  • หากเป็นผู้ป่วยโรคหัด ควรงดออกนอกบ้านจนกว่าอาการจะหายดี หากมีความจำเป็นต้องออกไปข้างนอก ควรใส่หน้ากากอนามัยเพื่อป้องกันการแพร่เชื้อไวรัสผ่านการไอ และจาม

 

  1. โรคระบบทางเดินหายใจ ได้แก่ ไข้หวัด ไข้หวัดใหญ่ ปอดบวม อาการที่พบได้แก่
  • ไข้
  • ไอ
  • เจ็บคอ
  • คัดจมูก
  • มีน้ำมูก
  • ปวดศีรษะ
  • ปวดเมื่อยตามตัว
  • อ่อนเพลีย
  • เบื่ออาหาร

   การป้องกัน

  • ดูแลร่างกายให้อบอุ่นอยู่เสมอ
  • ไม่สวมเสื้อผ้าที่เปียกชื้น
  • เช็ดตัวให้แห้ง
  • หลีกเลี่ยงการแช่น้ำเป็นเวลานาน
  • หลีกเลี่ยงการใกล้ชิดกับผู้ป่วยที่เป็นหวัด
  • ปิดปากและจมูกเวลาไอ หรือ จาม
  • ล้างมือเป็นประจำ ด้วยน้ำ และสบู่

 

  1. โรคตาแดง อาการที่พบได้แก่
  • ตาแดง
  • ระคายเคืองตา
  • น้ำตาไหล
  • กลัวแสง
  • มีขี้ตา
  • หนังตาบวม

   การป้องกัน

  • ล้างด้วยน้ำสะอาดทันทีถ้ามีฝุ่นละอองหรือน้ำสกปรกเข้าตา
  • ไม่ควรขยี้ตาด้วยมือที่สกปรก อย่าให้แมลงตอมตา
  • แยกผู้ป่วยตาแดงออกจากคนอื่น ๆ
  • ไม่ใช้สิ่งของร่วมกันเพื่อป้องกันการระบาดของโรค

 

  1. โรคระบบทางเดินอาหาร อาหารที่พบได้แก่
  • ถ่ายอุจจาระเหลว หรือถ่ายเป็นน้ำ หรือมีมูกเลือด
  • ปวดท้อง
  • คลื่นไส้
  • อาเจียน
  • ปวดศีรษะ
  • มีไข้
  • ปวดเมื่อยตามตัว
  • เบื่ออาหาร
  • ตัวเหลือง

   การป้องกัน

  • ทานอาหารที่ปรุงสุกและสะอาด อาหารกระป๋องที่ยังไม่หมดอายุ กระป๋องไม่บวมหรือเป็นสนิม
  • ดื่มน้ำสะอาด เช่น น้ำจากขวดที่ฝาปิดสนิท น้ำต้มสุก
  • ล้างมือให้สะอาดด้วยสบู่ทุกครั้ง ก่อนกินอาหาร และหลังการใช้ห้องน้ำ
  • ห้ามถ่ายอุจจาระลงในน้ำโดยตรง ถ้าส้วมใช้ไม่ได้ ให้ถ่ายลงในถุงพลาสติก ปิดปากถุงให้แน่น แล้วนำไปใส่ในถุงขยะ

 

  1. โรคไข้มาลาเรีย จะมี “ยุงก้นป่อง” เป็นพาหะนำโรค อาการที่พบได้แก่
  • มีไข้สูง
  • เหงื่อออกชุ่ม
  • หนาวสั่น
  • ปวดหัว
  • ปวดกล้ามเนื้อ
  • อ่อนเพลีย
  • คลื่นไส้
  • อาเจียน
  • ท้องเสีย

   การป้องกัน

  • ควรนอนในมุ้ง ระวังอย่าให้ยุงกัด
  • กำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ยุงทุกชนิด
  • ถ้าต้องเข้าไปอยู่ในเขตที่มีไข้มาลาเรียควรกินยาป้องกันไว้ล่วงหน้า
 
  1. โรคไข้เลือดออก จะมี "ยุงลาย" เป็นพาหะน้ำโรค อาการที่พบได้แก่
  • ไข้สูงลอย
  • ปวดศีรษะ
  • ปวดเมื่อยตามตัว
  • หน้าแดง
  • จุดเลือดออกตามผิวหนัง
  • เลือดออกตามไรฟัน

   การป้องกัน

  • ระวังอย่าให้ยุงกัดในเวลากลางวัน
  • นอนในมุ้ง
  • ทายากันยุง
  • กำจัดลูกน้ำและแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย โดยปิดฝาภาชนะเก็บน้ำไม่ให้มีน้ำขัง

 

  1. โรคฉี่หนู หรือโรคเลปโตสไปโรซิส อาการที่พบได้แก่
  • ไข้สูงฉับพลัน
  • ปวดศีรษะ
  • ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อมาก โดยเฉพาะบริเวณน่องและโคนขา หรือปวดหลัง
  • อาจมีอาการตาแดง
  • มีจุดเลือดออกตามผิวหนัง
  • ไอมีเลือดปน
  • ตัวเหลือง
  • ตาเหลือง
  • ปัสสาวะน้อย
  • ซึม
  • สับสน

   การป้องกัน

  • หลีกเลี่ยงการลุยน้ำลุยโคลน
  • ป้องกันไม่ให้บาดแผลสัมผัสถูกน้ำโดยการสวมร้องเท้าบูธยาง
  • รีบล้างเท้าให้สะอาดด้วยสบู่แล้วเช็ดให้แห้งโดยเร็วที่สุดเมื่อต้องลุยน้ำย่ำโคลน

 

  1. โรคน้ำกัดเท้า อาการที่พบได้แก่
  • เท้าเปื่อยและเป็นหนอง
  • คันตามซอกนิ้วเท้า
  • ผิวหนังลอกเป็นขุย
  • มีผื่นผุพอง
  • ผิวหนังอักเสบบวมแดง

   การป้องกัน

  • หลีกเลี่ยงการลุยน้ำลุยโคลน
  • ป้องกันไม่ให้บาดแผลสัมผัสถูกน้ำโดยการสวมร้องเท้าบูธยาง
  • รีบล้างเท้าให้สะอาดด้วยสบู่แล้วเช็ดให้แห้งโดยเร็วที่สุดเมื่อต้องลุยน้ำย่ำโคลน

***ถ้าพบอาการข้างต้นควรรีบศึกษาแพทย์เพื่อเข้ารักการรักษาในขึ้นตอนต่อไป***

   นอกจากโรคต่างๆที่ตามมาแล้ว อาจจะเกิดอุบัติเหตุและถูกสัตว์ที่มีพิษกัดต่อยด้วย

อุบัติเหตุที่พบบ่อยในช่วงน้ำท่วม ได้แก่

  • ไฟดูด
  • จมน้ำ
  • เหยียบของมีคม

อันตรายจากสัตว์มีพิษที่พบบ่อยในช่วงน้ำท่วม ได้แก่

  • งู
  • ตะขาบ
  • แมงป่อง

     ซึ่งหนีน้ำมาหลบอาศัยในบริเวณบ้านเรือน

การป้องกัน

  • ถอดปลั๊กอุปกรณ์ไฟฟ้า สับคัตเอาต์ตัดไฟฟ้าในบ้านก่อนที่น้ำจะท่วมถึง
  • เก็บกวาดขยะ วัตถุแหลมคม ในบริเวณอาคารบ้านเรือน และตามทางเดินอย่างสม่ำเสมอ
ที่มาข้อมูล : https://www.bangkokhospital.com/content/contagious-diseases-dangerous-from-the-flood
 
ดูข้อมูลเพิ่มเติม
 
สอบถามรายละเอียดข้อมูลเพิ่ม นัดหมายเข้ามาดูสถานที่ ติดต่อ
KIN (คิน) - Rehabilitation & Homecare
 
 โทร 095-884-2233 , 091-803-3071 , 02-020-1171
line แอด LINE@ สอบถามรายละเอียด @kin.rehab มี @ ข้างหน้า หรือ Click : http://bit.ly/2M5f3Id
 Youtube Channel : https://cutt.ly/TyTh3bd
 แผนที่ไป KIN : http://bit.ly/2VvPDq6

ข่าวสารบทความ อื่นๆ

KIN Rehab