อาการหลัง Covid เป็นยังไง? (Post Covid-19 Condition)

อาการหลัง COVID มันเป็นยังไง?

(Post COVID-19 condition)

อาการหลังจากเป็น COVID เราจะเรียกว่า Post COVID condition หรืออาการหลัง COVID

รายละเอียดของอาการหลัง COVID

ถึงแม้ว่าผู้ป่วย COVID จะมีอาการดีขึ้นภายในเวลา 1 สัปดาห์หลังจากมีอาการติดเชื้อ แต่ก็มีผู้ป่วยบางคนที่มีอาการหลังเป็น COVID ซึ่งอาจจะมีอาการใหม่หรือมีอาการเหมือนตอนติดเชื้อได้อีก และสามารถมีอาการนานมากกว่า 4 สัปดาห์หลังจากติดเชื้อครั้งแรก แม้แต่ผู้ป่วยที่ไม่มีอาการขณะติดเชื้อก็สามารถมีอาการหลัง COVID ได้ โดยอาการเหล่านี้มีได้หลายแบบและเป็นความผิดปกติของสุขภาพรวมๆกันในเวลาที่ต่างกัน ประเทศอังกฤษจะเรียก Post acute COVID-19 คือ มีอาการหลัง COVID นานเกิน 3 สัปดาห์ และPost chronic COVID-19 คือ มีอาการหลัง COVID นานเกิน 4 สัปดาห์

 

ชนิดของอาการหลัง COVID

1. Long COVID

Long COVID เป็นระยะของอาการที่เป็นนานตั้งแต่เวลาเป็นสัปดาห์หรือเดือนหลังจากติดเชื้อ COVID และเกิดภายในเวลาเป็นสัปดาห์หลังติดเชื้อ Long COVID เกิดกับใครก็ได้ที่ติดเชื้อแม้จะไม่มีอาการของ COVID หรือมีอาการแค่เล็กน้อย โดยผู้มีอาการจะมีอาการหลายๆอย่างรวมกัน ได้แก่

- เหนื่อยหรือล้าไม่มีแรง

- คิดอะไรไม่ออก ไม่มีสมาธิ (brain fog)

- ปวดศีรษะ

- ไม่ได้กลิ่นหรือไม่รู้รส

- มึนงงเวลายืน

- ใจสั่น รู้สึกหัวใจเต้นเร็วและแรง

- เจ็บหน้าอก

- หายใจลำบาก หายใจถี่ๆ

- ไอ

- เจ็บข้อหรือกล้ามเนื้อ

- ซึมเศร้า วิตกกังวล

- มีไข้

อาการจะแย่ลงหลังจากออกแรงหรือใช้สมองคิด

 

 

2. ผลต่ออวัยวะหลายอย่างจาก COVID  (Multiorgan effects of COVID-19)

หลัง COVID อาจมีอาการของอวัยวะหลายอย่าง ได้แก่ หัวใจ,ปอด,ไต,ผิวหนังและสมอง โดยอาจจะมีสภาพเหมือนกลุ่มอาการอักเสบของหลายระบบ (MIS-multisystem inflammatory syndrome) และโรคภูมิคุ้มกันทำลายตัวเอง (autoimmune) MIS เป็นสภาพที่ส่วนต่างๆของร่างกายอาจมีอาการบวม ส่วนโรคภูมิคุ้มกันทำลายตัวเอง เกิดเพราะระบบภูมิคุ้มกันทำลายเซลล์ที่แข็งแรงของร่างกายเรา โดยสำคัญผิดว่าเป็นสิ่งแปลกปลอม ทำให้เกิดบวมและปวดในบริเวณที่เป็น ขณะนี้ยังไม่แน่ใจว่าอาการของ MIS จะคงอยู่ตลอดไปหรือไม่ หรือจะกลายเป็นโรคเรื้อรังอย่างอื่นหรือไม่

 

3. ผลจากการรักษา COVID-19 และการนอนโรงพยาบาล

อาการหลัง COVID จะรวมผลระยะยาวที่เกิดจากการรักษา COVID และการนอนโรงพยาบาลซึ่งจะคล้ายกับการนอนโรงพยาบาลในโรคติดเชื้อทางเดินหายใจหรือโรคอื่นๆ และอาจรวมกลุ่มอาการหลังเข้าไอซียู (PICS-post-intensive care syndrome) เป็นอาการที่ยังคงอยู่หลังการเจ็บป่วยวิกฤต ซึ่งมีอาการอ่อนแรงอย่างมากและมีอาการเครียดหลังเผชิญเหตุการณ์สะเทือนขวัญอย่างหนัก (PTSD-post traumatic stress disorder) ด้วย

 

การรักษา

หลายคนอาการดีขึ้นเมื่อเวลาผ่านไป มีการรายงานว่าการฉีดวัคซีนจะทำให้อาการดีขึ้น แต่ก็ต้องรอการศึกษาต่อไป การรักษาส่วนใหญ่เป็นการรักษาตามอาการ

อาการทั้งสามกลุ่มนี้ยังไม่รวมการสูญเสียญาติมิตร การสูญเสียความศรัทธาในเพื่อนมนุษย์ด้วยกันจากการถูกรังเกียจ หรือการถูกจับไปรวมกลุ่มกันตามหลักการป้องกันโรคในที่กักโรค และความกังวลขณะถูกกักโรคด้วย มีรายงานใน British medical Journal ว่า 10% ของผู้ป่วย COVID จะมีอาการ Long COVID และจะมีการฟื้นตัวช้าๆแต่ต้องมีการดูแลแบบองค์รวม การพักผ่อน รักษาตามอาการและค่อยๆเพิ่มกิจกรรม ในคนที่มีอาการเหนื่อยให้ใช้เครื่องวัดออกซิเจนในเลือดแบบพกพาจะสามารถช่วยได้ และหากมีอาการทางระบบประสาท,หัวใจ หรือปอดใหม่ ควรไปพบแพทย์เฉพาะทาง

 

การประยุกต์ใช้ทางอาชีวเวชศาสตร์

ตอนนี้มีกลุ่มคนวัยแรงงานติดโรคกันมาก ซึ่งอุบัติการณ์ยังไม่มีแน่นอน แต่ที่ประเทศอังกฤษคาดการณ์ว่ามีคนมีอาการของ long COVID จำนวนมาก ของประเทศไทยน่าจะมี คือถ้ามีคนติดเชื้อ 300,000 คน น่าจะมีคนเป็น 30,000 คน ยังไม่นับคนที่ไม่รู้ว่าตัวเองเป็นอีก ในฐานะแพทย์อาชีวเวชศาสตร์เป็นหน้าที่  ที่จะต้องเฝ้าระวังในคนงานที่เป็น COVID และรักษาจนหายกลับเข้าทำงาน ถ้ามีอาการหลัง COVID อาจทำให้เกิดความเสี่ยงต่อสุขภาพ ทำให้เกิดโรคหรืออุบัติเหตุจากการทำงานได้ จึงขอเสนอให้แพทย์อาชีวเวชศาสตร์ทำการประเมิน Return to work (RTW) คือ การประเมินก่อนกลับเข้าทำงาน  นอกจากจะประเมินว่าจะแพร่กระจายเชื้อได้อีกหรือไม่   ต้องประเมินอาการหลัง COVID นี้ด้วย ซึ่งจะต้องมีการประเมินก่อนจะกลับเข้าทำงาน 1 ครั้ง และมีการ f/u (Follow up)  อีก 2 สัปดาห์ และ 1 เดือนถัดมา  เนื่องจากความรู้ด้านการประเมินอาการหลังCOVID ยังไม่ได้ผลสรุปที่แน่ชัด  แต่จะต้องมีการวางแผนการประเมินไว้ เพื่อให้คนงานมีสุขภาพดีและไม่เกิดความเสี่ยงในการทำงานด้วย

ที่มาข้อมูล : ศูนย์สุขภาพและอาชีวอนามัยเครือโรงพยาบาลวิภาราม

 
 
โปรแกรมฟื้นฟู ผู้ป่วยภายหลังการรักษาผุ้ป่วยติดเชื้อ Covid-19 (Post Covid-19)
 
แพ็กเกจ ผ่านระบบ ZOOM โปรแกรมฟื้นฟูผู้ป่วยภายหลังการติดเชื้อ Covid-19 (Post Covid-19)
 
 
ดูข้อมูลเพิ่มเติม
 
สอบถามรายละเอียดข้อมูลเพิ่ม นัดหมายเข้ามาดูสถานที่ ติดต่อ
KIN (คิน) - Rehabilitation & Homecare
 
 โทร 095-884-2233 , 091-803-3071 , 02-020-1171
line แอด LINE@ สอบถามรายละเอียด @kin.rehab มี @ ข้างหน้า หรือ Click : http://bit.ly/2M5f3Id
 Youtube Channel : https://cutt.ly/TyTh3bd
 แผนที่ไป KIN : http://bit.ly/2VvPDq6

 

ข่าวสารบทความ อื่นๆ

KIN Rehab