โรคหลอดเลือดสมอง โรคหลอดเลือดสมองตีบ โรคหลอดเลือดสมองแตก

โรคหลอดเลือดสมอง (Stroke)

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 
 
 
    

สาเหตุที่ทำให้เกิดอาการของโรคนี้

เกิดจากความผิดปกติของหลอดเลือดสมองที่ทำให้สมองขาดเลือด แบ่งได้เป็น 2 ประเภท ดังนี้

  1. หลอดเลือดสมองตีบหรืออุดตัน (ischemic stroke) พบได้ประมาณ 80%
  2. หลอดเลือดสมองแตก (hemorrhagic stroke) พบได้ประมาณ 20%

 

ปัจจัยเสี่ยงของโรคหลอดเลือดสมอง

ปัจจัยเสี่ยงที่ป้องกันไม่ได้

  • อายุ เมื่ออายุมากขึ้น หลอดเลือดก็จะเสื่อม หนาและแข็งขึ้นจากการที่มีไขมันและหินปูนมาเกาะ
  • เพศ พบว่าเพศชายมีความเสี่ยงสูงกว่าเพศหญิง
  • ภาวะการแข็งตัวของเลือดเร็วกว่าปกติ

 

ปัจจัยเสี่ยงที่ป้องกันได้

  • ความดันโลหิตสูง เป็นปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญที่สุดของโรคหลอดเลือดสมอง
  • เบาหวาน จะทำให้หลอดเลือดแข็งทั่วร่างกาย หากเกิดที่สมองจะมีโอกาสเป็นโรคหลอดเลือดสมองมากกว่าคนปกติ 2-3 เท่า
  • ไขมันในเลือดสูง คือภาวะไขมันสะสมอยู่ตามผนังหลอดเลือด ทำให้กีดขวางการลำเลียงเลือด
  • โรคหัวใจ เช่น โรคลิ้นหัวใจผิดปกติ หัวใจเต้นผิดจังหวะ เป็นสาเหตุของการเกิดลิ่มเลือดอุดตันที่หลอดเลือดสมอง
  • การสูบบุหรี่ ทำให้หลอดเลือดแข็งตัว เพิ่มความเสี่ยงต่อโรคหลอดเลือดสมองถึง 3.5%
  • ยาคุมกำเนิด
  • โรคซิฟิลิส เป็นสาเหตุของหลอดเลือดอักเสบและหลอดเลือดแข็ง
  • การขาดการออกกำลังกาย

 

อาการและแนวทางการดำเนินโรค

เมื่อสมองขาดเลือดจะทำให้สมองไม่สามารถทำงานได้ตามปกติ ซึ่งอาการแสดงต่าง ๆ จะมากหรือน้อยขึ้นกับระดับความรุนแรงและตำแหน่งของสมองที่ถูกทำลาย เช่น

  • ชาหรืออ่อนแรงที่ใบหน้าและ/หรือบริเวณแขนขาครึ่งซีกของร่างกาย
  • พูดไม่ชัด ปากเบี้ยว มุมปากตก น้ำลายไหล กลืนลำบาก
  • ปวดศีรษะ เวียนศีรษะทันทีทันใด
  • ตามัว มองเห็นภาพซ้อนหรือเห็นครึ่งซีก หรือตาบอดข้างเดียวทันทีทันใด
  • เดินเซ ทรงตัวลำบาก

 

อาการเหล่านี้มักเกิดขึ้นอย่างฉับพลัน ในรายที่มีภาวะสมองขาดเลือดแบบชั่วคราว (transient ischemic attack: TIA) อาจมีอาการเตือนเหล่านี้เกิดขึ้นชั่วขณะแล้วหายไปเอง หรืออาจเกิดขึ้นได้หลายครั้งก่อนจะมีอาการสมองขาดเลือดแบบถาวร ดังนั้นหากมีอาการผิดปกติเกิดขึ้น ควรรีบพบแพทย์ทันที เนื่องจากอาการของโรคหลอดเลือดสมองจัดเป็นอาการร้ายแรงและอาจเป็นอันตรายถึงแก่ชีวิต หรือหากไม่ถึงชีวิต ก็อาจทำให้กลายเป็นโรคอัมพาต อัมพฤกษ์ ไม่สามารถช่วยเหลือตนเองและต้องใช้เวลาในการรักษาฟื้นฟูสุขภาพต่อไป

 

วิธีการรักษา

  1. การรักษาด้วยตัวเอง

    ออกกำลังกายและฝึกตามที่นักกายภาพบำบัดแนะนำ รับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ หลีกเลี่ยงอาหารที่มีไขมันสูง หวานจัด เค็มจัด ทานยาสม่ำเสมอตามแพทย์สั่ง ทำกิจกรรมคลายเครียด เช่น ฟังเพลง นั่งสมาธิ อ่านหนังสือ ไปเที่ยว เป็นต้น

  2. การรักษาทางกายภาพบำบัด
    • เพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ
    • เพิ่มความยืดหยุ่น ลดภาวะเกร็ง
    • ฝึกการประสานสัมพันธ์ของกล้ามเนื้อและข้อต่อ (coordination)
    • ฝึกการทรงตัว
    • ฝึกการเดิน
    • ฝึกการใช้มือ
    • ป้องกันภาวะแทรกซ้อนต่าง ๆ เช่น ข้อติด แผลกดทับ การเกร็ง ปอดติดเชื้อ ภาวะความดันต่ำจากการเปลี่ยนท่าทาง กระดูกพรุน เป็นต้น

 

การป้องกันไม่ให้กลับมาเป็นอีกของโรคนี้

  1. ควบคุมปัจจัยเสี่ยงที่ส่งเสริมให้หลอดเลือดเกิดการตีบ อุดตัน หรือแตก เช่น ความดันโลหิตสูง โรคหัวใจ โรคเบาหวาน ไขมันในเลือดสูง การสูบบุหรี่ หรือขาดการออกกำลังกาย เป็นต้น
  2. ตรวจเช็กสุขภาพประจำปีอย่างสม่ำเสมอ ในกรณีที่พบว่ามีปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้หลอดเลือดตีบ อุดตัน หรือแตก ต้องรักษาและรับประทานยาอย่างสม่ำเสมอตามแผนการรักษาของแพทย์ ห้ามหยุดยาเอง และควรรีบพบแพทย์ทันทีถ้ามีอาการผิดปกติ
  3. ควบคุมระดับความดันโลหิต ไขมัน และน้ำตาลในเลือดให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ ควบคุมอาหารให้สมดุล หลีกเลี่ยงอาหารรสเค็ม หวาน มัน
  4. ออกกำลังกายสม่ำเสมอ อย่างน้อย 30 นาทีต่อวัน 3 ครั้งต่อสัปดาห์ และควบคุมน้ำหนักให้เหมาะสม
  5. งดสูบบุหรี่ หลีกเลี่ยงเครื่องดื่มแอลกอฮอล์

 

ถ้ามีอาการเตือนที่แสดงว่าเลือดไปเลี้ยงสมองไม่พอชั่วคราว ควรรีบมาพบแพทย์ถึงแม้ว่าอาการเหล่านั้นจะหายได้เองเป็นปกติ ผู้ที่เป็นหลอดเลือดสมองตีบหรืออุดตันแล้ว แพทย์จะให้การรักษาโดยใช้ยาเพื่อป้องกันการกลับเป็นซ้ำของโรคหลอดเลือดสมอง แต่การใช้ยาเหล่านี้จำเป็นต้องมีการติดตามผลและใช้ภายใต้คำแนะนำของแพทย์อย่างเคร่งครัด เนื่องจากถ้ามีการใช้ยาผิด ประมาทเลินเล่อ หรือไม่มีการติดตามดูแลอย่างสม่ำเสมออาจเกิดภาวะแทรกซ้อนอย่างรุนแรง เป็นอันตรายถึงแก่ชีวิตได้

ติดต่อเรา (Contact)

สนใจสอบถามข้อมูล และ ติดตาม KIN (คิน) - Rehabilitation & Homecare

Line

@Kinrehab

Call

091-803-3071

Call

095-884-2233

Rehabilitation & Homecare

ออฟฟิศซินโดรม (Office Syndrome) อาการ ปวดหลัง ปวดคอ ปวดไหล่

KIN Rehabilitation

    สาเหตุที่ทำให้เกิดอาการของโรคนี้ เกิดจากการทำงานของกล้ามเนื้อในท่าทางซ้ำ ๆ ต่อเนื่องเป็นเวลานาน เกิดอาการ ปวดหล... 

อ่านต่อ...

ค่าบริการห้องพัก

KIN Rehabilitation

ค่าบริการห้องพัก (Room Rate) สอบถามข้อมูลการฟื้นฟู และนัดดูสถานที่                 &... 

อ่านต่อ...

ปัญหาภาวะเครียด วิตกกังวล จากความเจ็บปวด

KIN Rehabilitation

ปัญหาภาวะเครียด วิตกกังวล จากความเจ็บปวด (Anxiety Disorder)        สาเหตุที่ทำให้เกิดอาการของโรคนี้ 30 -... 

อ่านต่อ...

เกี่ยวกับเรา

KIN Rehabilitation

เกี่ยวกับเรา (About Us)                         “KIN&... 

อ่านต่อ...

การบำบัดทางศาสตร์พลังงาน เรกิ (霊気 / reiki)

KIN Rehabilitation

การบำบัดทางศาสตร์พลังงาน เรกิ (霊気 / reiki)     ความหมาย เรกิ (霊気 / reiki) คือ ศาสตร์การเยียวยาบำบัดด้วยพลังงาน (en... 

อ่านต่อ...

อัตราค่าบริการกายภาพบำบัด

KIN Rehabilitation

อัตราค่าบริการกายภาพบำบัด (Physical Therapy Fee)           ราคาคอร์ส Promotion วันนี้ อัตราค่า... 

อ่านต่อ...

คลินิกกายภาพบำบัด กายภาพบำบัด กิจกรรมบำบัด เวชศาสตร์ฟื้นฟู (Rehabilitation)

KIN Rehabilitation

       "กายภาพบำบัด" เพื่อรักษาอาการปวดเรื้อรังรักษาหายได้โดยไม่ต้องใช้ยา บริการด้วยเครื่องมือทันสมัย เล... 

อ่านต่อ...

ติดต่อเรา

KIN Rehabilitation

ติดต่อ “KIN” (คิน)     KIN - Rehabilitation & Homecare อาคาร KIN Rehabilitation เลขที่ 6... 

อ่านต่อ...

หน้าแรก

KIN Rehabilitation

Welcome to "KIN" (คิน) ศูนย์ดูแลสุขภาพผู้สูงอายุครบวงจร KIN “Caring is the best medicine”    Watch Vid... 

อ่านต่อ...

คลินิกเฉพาะทางโรคสมองและระบบประสาท

KIN Rehabilitation

คลินิกโรคหลอดเลือดสมอง (Stroke Clinic) คลินิกเฉพาะทางโรคสมอง และระบบประสาท ฟื้นฟูอัมพฤกษ์ อัมพาต โรคหลอดเลือดสมอง ด้วยเทคโนโ... 

อ่านต่อ...

คลินิกโรคหลอดเลือดสมอง โรคหลอดเลือดสมองตีบ โรคหลอดเลือดสมองแตก

KIN Rehabilitation

คลินิกโรคหลอดเลือดสมอง (Stroke Clinic) คลินิกเฉพาะทางโรคสมอง และระบบประสาท ฟื้นฟูอัมพฤกษ์ อัมพาต โรคหลอดเลือดสมอง ด้วยเทคโนโ... 

อ่านต่อ...

Twin Room

KIN Rehabilitation

        ห้องคู่ ห้องพักพิเศษ ช้้น 2   สิ่งอำนวยความสะดวก  LED SMART TV 40 นิ้ว  ... 

อ่านต่อ...
KIN Rehab