5 โรคยอดฮิต พิชิตได้ด้วยกายภาพ
โรครักษาได้ด้วยกายภาพ
โรครักษาได้ด้วยกายภาพ
 

5 โรคยอดฮิต พิชิตได้ด้วยกายภาพ

 ♦ นิ้วล็อค (Trigger Finger)

   อาการนิ้วล็อค

   เกิดจากการหนาตัวของปลอกหุ้มเส้นเอ็นที่อยู่ตรงกับกระดูกฝ่ามือ จึงทำให้เกิดอาการอักเสบและการตีบแคบของปลอกหุ้มเส้นเอ็นทำให้เคลื่อนไหวข้อนิ้วลำบาก

   พฤติกรรมและภาวะเสี่ยง

  มีอาการปวดข้อนิ้ว งอหรือเหยียดนิ้วได้ไม่สุด เหยียดนิ้วต้องใช้มืออีกข้างนึงช่วย

  • พิมพ์งานนานๆ
  • หิ้วหรือถือของหนักเกินไป
  • ทำงานบ้านหรือทำอาหาร ถืออุปกรณ์ทำครัวเป็นประจำ
  • เล่นกีฬาหักโหมเกินไป เช่น แบดมินตัน เทนนิส
  • ใช้โทรศัพท์มือถือเป็นเวลานานๆ

♦ ปวดหลัง (Back Pain/HNP)

อาการปวดหลัง

ส่วนใหญ่มักเกิดจากการนั่งทำงานหรือกิจกรรมการใช้ชีวิตประจำกัน อาจเกิดจากการที่กล้ามเนื้อบริเวณเอวเคล็ดหรือฉีกขาดฉับพลัน หรือเกิดจากภาวะกระดูกสันหลังเสื่อมและกดทับเส้นประสาท หรือมีอาการจากหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท ซึ่งหากมีอาการเหล่านี้ทางกายภาพบำบัดสามารถช่วยรักษาหรือบรรเทาอาการได้

พฤติกรรมและภาวะเสี่ยง

  • นั่งทำงานในท่าเดิมเป็นระยะเวลานานๆ
  • ขับรถนานหรือระยะทางไกลๆ
  • มีอาการปวดหลังขณะยกของหนักหรือล้มก้นกระแทก
  • ก้มตัว แอ่นหลัง หรือบิดลำตัวแล้วมีอาการปวด
  • ปวดหลังร้าวลงขา มีหรือไม่มีอาการชา
  • ปวดหลังเมื่อต้องเดินนานๆ

♦ ปวดไหล่/ไหล่ติด (Shoulder Pain/Frozen Shoulder)

 อาการปวดไหล่ ไหล่ติด

ส่วนใหญ่มักเกิดจากการทำงานและกิจกรรมการใช้ชีวิตประจำวัน ซึ่งการใช้งานซ้ำๆ ก่อให้เกิดการเสียดสีและอักเสบ ของเอ็นและกล้ามเนื้อบริเวณรอบข้อไหล่ ในผู้สูงอายุมักมีอาการเสื่อมจากการใช้งานมากไป

 พฤติกรรมและภาวะเสี่ยง

  • กางหรือยกแขนได้ไม่สุด ใช้มือเอื้อมหยิบของจากที่สูงลำบาก
  • เล่นกีฬา ออกกำลังกายในท่าที่ต้องใช้แขนและไหล่ลำบาก
  • ปวดไหล่ตอนกลางคืนขณะพลิกตัวเอียงตัว
  • หยิบของจากด้านหลังไม่ได้ มือไขว้หลังไม่ได้

 ระยะของภาวะไหล่ติด

ระยะปวด/เจ็บ

   ขณะเคลื่อนไหวหัวไหล่ แต่ยังไม่มีภาวะไหล่ติดระยะนี้ยังไม่ควรนวดรักษาได้โดยการทายาระงับอาการปวด

ระยะติดแข็ง

 อาการปวดค่อยๆ ลดลง แต่มีอาการติดแข็งเคลื่อนไหวไหล่ลำบาก รู้สึกตึงรั้งกล้ามเนื้อหัวไหล่ถึงต้นคอ ระยะนี้รักษาโดยกายภาพบำบัดออกกำลังกายยืดกล้ามเนื้อ

ระยะบรรเทา

 ช่วงการเคลื่อนไหวข้อไหล่ลดลง ระยะนี้รักษาโดยการดัดไหล่ภายใต้ยาสลบ,การผ่าตัด

♦ ปวดเข่า (Knee Pain)

อาการปวดเข่า

 เกิดขึ้นได้ด้วยหลากหลายสาเหตุ ในผู้สูงอายุ มักเกิดจากภาวะข้อเข่าเสื่อมจากการใช้งานยาวนานจนผิวข้อกร่อน เข่าผิดรูป โก่งงอ อีกสาเหตุหนึ่งอาจเกิดจากแรงกระทำที่มากเกินไปกับข้อเข่า เช่น การเล่นกีฬา หรือเคยรับอุบัติเหตุที่เข่าและในคนที่มีน้ำหนักตัวมาก สามารถทำให้เกิดอาการปวดเข่าได้เช่นกัน

พฤติกรรมและภาวะเสี่ยง

ภาวะเข่าเสื่อม

 อายุมากกว่า 50 ปีขึ้นไป มีน้ำหนักตัวมาก

  • มีอาการปวดเข่าขณะเคลื่อนไหว เช่น เดินขึ้นบันได และอาการจะดีขึ้นเมื่อพัก
  • มีอาการขัดในข้อเข่า เหยียด-งอเข่าได้ไม่สุด
  • มีเสียงดังในข้อ กล้ามเนื้อต้นขาลีบ

ปวดเข่าหลังจากเล่นกีฬา

 หรือออกกำลังกายเนื่องจากต้องใช้ข้อเข่ารับน้ำหนักมาก เช่น นักวิ่ง นักปั่นจักรยาน นักฟุตบอล     นักบาส

  • ปวดเสี่ยวแปลบที่เข่าบริเวณด้านในหรือด้านนอกเหนือหรือใต้ลูกสะบัก
  • ปวดขัดชัดเจนหลังจากเล่นกีฬา หรือออกกำลังกาย

ปวดเข่าจากการทำงาน

 ทำงานในท่าเดิมซ้ำๆ เป็นระยะเวลานาน

♦ ปวดคอ บ่า ไหล่ หลัง สะบัก (Office Syndrome)

      อาการปวดคอ บ่า ไหล่ หลัง สะบัก

      เป็นอาการที่เกิดจากการปวดกล้ามเนื้อเรื้อรังและเยื้อผังผืด ซึ่งเกิดจากการทำกิจกรรมเดิมซ้ำๆ เป็นระยะเวลานานทำให้มีจุดกดเจ็บ (Trigger point) ในเนื้อเยื่อ โดยจุดกดเจ็บนี้สามารถทำให้เกิดอาการปวดและตึงได้

     พฤติกรรมและภาวะเสี่ยง

  • ทำงานหน้าจอคอมพิวเตอร์นานติดต่อกันเกิน 6 ชั่วโมง/วัน
  • นั่งทำงานในท่าทางซ้ำๆ อย่างต่อเนื่อง
  • สภาพแวดล้อมในการทำงานไม่เหมาะสม เช่น ระดับความสูงของโต๊ะ หรือลักษณะของเก้าอี้ที่นั่งทำงาน
  • ท่าทางในการทำงาน เช่น ท่านั่งหลังค่อม ก้มหรือเงยหน้ามากจนเกินไป

การรักษาทางกายภาพบำบัด

   การรักษาทางกายภาพบำบัดสามรถรักษาได้ โดยอย่างแรกต้องตรวจร่างกายโดยนักกายภาพร่วมกับการวางแผนการรักษา เพื่อเป็นการมองหาอาการบาดเจ็บปวดว่าเกิดจากสาเหตุใด โครงสร้างใดที่มีปัญหา และจะต้องได้รับการรักษาอย่างไรบ้างรวมทั้งเครื่องมือที่ใช้ในการรักษา

   เครื่องมือที่ใช้ในการรักษา

  • คลื่นเหนือเสียง

       ใช้ในการเพิ่มการไหลเวียนของเลือดให้กลับไปเลี้ยงเนื้อเยื่อเพื่อลดอาการปวดและอาการอักเสบของกล้ามเนื้อเละเส้นเอ็น

  • เลเซอร์

       ใช้ในการลดอาการปวดบริเวณจุดกดเจ็บ หรือการอักเสบของเส้นเอ็นกล้ามเนื้อและรักษาแผลกดทับ อีกทั้งยังสามารถเร่งกระบวนการรักษาตัวเองจากแผลหลังการผ่าตัด หรือแผลเปิด

  • เครื่องดึงคอ ดึงหลัง

      ใช้ในการลดอาการปวดอันเนื่องมาจากโพรงกระดูกสันหลังตีบแคบหรือหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท ส่วนการดัดดึงข้อต่อโดยนักกายภาพนั้นจะทำการขยับข้อต่อคลายเนื้อเนื้อหรือคลายกล้ามเนื้อ โดยการรักษาจะแตกต่างไปตามอาการ

  • เครื่องกระตุ้นไฟ

      ใช้ในการลดอาการปวดที่บริเวณกล้ามเนื้อ ข้อต่อ หรือใช้ในการกระตุ้นการทำงานของกล้ามเนื้อที่มีอาการอ่อนแรง

  • ประคบร้อน/เย็น

      ใช้เพื่อลดอาการปวด อักเสบของกล้ามเนื้อหรือข้อต่อที่มีการอักเสบระยะเฉียบพลันและเรื้อรัง

  • การออกกำลังกายท่าเฉพาะ

     นอกจากการใช้เครื่องมือทางกายภาพและการรักษาโดยกายภาพบำบัดแล้ว การทำให้อาการบาดเจ็บที่เป็นอยู่ไม่กลับมาเป็นซ้ำ นั่นคือการออกกำลังกายอย่างถูกวิธีตามที่นักกายภาพแนะนำ และสามารถนำกลับไปทำเองที่บ้านได้

สนใจสอบถาม Promotion
KIN (คิน) - Rehabilitation & Homecare
โทร. 0802400426 / 091 803-3071 / 0-2020-1171
สอบถามบริการของ KIN  แอด LINE@ สอบถามรายละเอียด @kin.rehab มี @ ข้างหน้า หรือ Click : http://bit.ly/2M5f3Id
แผนที่ไป KIN (คิน) http://bit.ly/2VvPDq6
ดูรายละเอียดเพิ่มเติม https://www.kinrehab.com/
FaceBook(Inbox) : https://www.facebook.com/KIN.Rehabilitation

ข่าวสารบทความ อื่นๆ

KIN Rehab